Insect Biology and Restriction

ชีววิทยาแมลงและการจำกัด

มด Formicidae

มดเป็นแมลงสังคมที่สร้างความรำคาญในบ้านเรือนมีผลกระทบต่อธุรกิจ
ที่เกี่ยวกับอาหารทำให้เกิดการปนเปื้อน และอาหารเป็นพิษ มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย
ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

มดเป็นแมลงสังคมที่สร้างความรำคาญในบ้านเรือนมีผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารทำให้เกิดการปนเปื้อน และอาหารเป็นพิษ มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ (Complete metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

มดแบ่งออกเป็น 3 วรรณะ

วรรณะสืบพันธุ์

วรรณะกรรมกร

วรรณะทหาร

ลักษณะทั่วไปของมดแบ่งลำตัวออกเป็น 3 ส่วน

มีหนวดแบบหักข้อศอก ในเพศเมียจำนวน 4 – 12 ปล้อง และเพศผู้จำนวน
9 – 13 ปล้อง ปล้องท้องที่ 1 จะรวมกับอกปล้องที่ 3 เรียกว่า propodeum ปล้องที่ 2 และ/หรือ 3 มีลักษณะเป็นก้าน (pedicel) คล้ายมดมีเอว ปากแบบกัดกิน (chewing type) และมีตารวมขนาดใหญ่ 1 คู่ (compound eye) บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocelli)

มีหนวดแบบหักข้อศอก ในเพศเมียจำนวน 4 – 12 ปล้อง และเพศผู้จำนวน 9 – 13 ปล้อง ปล้องท้องที่ 1 จะรวมกับอกปล้องที่ 3 เรียกว่า propodeum ปล้องที่ 2 และ/หรือ 3 มีลักษณะเป็นก้าน (pedicel) คล้ายมดมีเอว ปากแบบกัดกิน (chewing type) และมีตารวมขนาดใหญ่ 1 คู่ (compound eye) บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocelli)

Type of Formicidae

ชนิดของมดที่สำคัญ

มดคันไฟ (Fire Ant)

มีสีเหลืองแดง มีขนที่หัวและตัว หนวดมี 10 ปล้อง อกแคบ โดยปล้องแรกจะมีลักษณะกลม ท้องรูปไข่มีลายขวางสีน้ำตาล มีเหล็กใน ลำตัวมีความยาว 7-8 มิลลิเมตร ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยด้วยดินทรายโดยสร้างเป็นเนินดินเล็กๆ ชอบอาหารที่มีโปรตีนสูงกินแมลงและซากสัตว์เล็กๆเป็นอาหารรวมทั้งเศษอาหารที่คนทิ้งไว้

ความสำคัญทางการแพทย์ :

ทำอันตรายกับคนได้ทั้งการกัดและการใช้เหล็กในต่อย ผู้ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟ หลังจากถูกต่อยบริเวณแผลจะมีอาการบวมแดงขยายวงกว้างขึ้นและจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคันมากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น

มดละเอียด (Pharaohs Ant)

มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส ส่วนท้องมีสีเข้มเกือบดำ หนวดมี 12 ปล้อง ตาเล็ก มีขน อกยาวแคบ ลำตัวมีความยาว 1.5-2 มิลลิเมตร เป็นมดที่ทำรังหลักหรือรังใหญ่ (mother colony) และมีรังย่อย (daughter colony) อยู่ใกล้แหล่งอาหาร พบตามบ้านที่อยู่อาศัย โดยรังย่อยเหล่านี้จะซ่อนอยาตามรอยแตกของผนัง ช่องว่างตามกำแพง กล่องสวิตช์ไฟ มดละเอียดชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิด ทั้งน้ำตาลและโปรตีน เป็นมดที่จัดว่าทำการควบคุมได้ยาก เนื่องจากมีขนาดเล็กหลบซ่อนตัวได้ง่าย หากินไกลออกจากรัง มีทั้งรังหลักและรังย่อยซึ่งยากต่อการค้นหา และพบว่าการใช้สารเคมีในการฉีดพ่นที่รังใดรังหนึ่งและทำให้ประชากรแตกกระจาย บางครั้งจะทำให้มดชนิดนี้ยิ่งแตกออกเป็นรังย่อยๆหรือที่เรียกว่า budding ซึ่งทำให้ควบคุมยากยิ่งขึ้น

ความสำคัญทางการแพทย์ :

มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฏให้เห็น เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวด้วยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย

มดเหม็น (Ghost Ant)

มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวแคบ ลำตัวมีความยาว 2.5-3.5 มิลลิเมตร ทำรังอยู่ในดิน พบตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวาน เมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว

ความสำคัญทางการแพทย์ :

เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัด ผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย

มดดำ (Crazy Ant)

มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป หนวดมี 12 ปล้อง ลักษณะยาวเห็นได้ชัด ท้องรูปไข่ ความยาวของลำตัว 2.3-3 มิลลิเมตร พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกอาคารบ้านเรือน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้นจึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ได้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆพบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ทำรังตามรอยแตกของต้นไม้ หรือในดินใต้วัสดุต่างๆ ชอบกินน้ำหวาน บางครั้งอาจพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคนแม้ถูกรบกวน

ความสำคัญทางการแพทย์ :

เป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าทำให้เกิดอันตราย

Process of Service

การกำจัดมด

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่

สำรวจบริเวณพื้นภายในและภายนอกที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อประเมินสภาพปัญหา

ฉีดพ่น

ฉีดพ่น

สารเคมีภายในและรอบนอกอาคารโดยเน้นแหล่งหลบซ่อนที่พบตัว,แหล่งอาหาร

วางเหยื่อพิษ

วางเหยื่อพิษ

วางเหยื่อพิษสำเร็จรูปชนิดเจล ในบริเวณที่ฉีดพ่นสารเคมี ไม่ได้ เช่น แผงบอร์ดสวิตซ์ เคาเตอร์ครัว เป็นต้น

ตรวจเช็ค

ตรวจเช็ค

ตรวจเช็ค/ติดตามผลทำการบริการอย่างต่อเนื่อง

สุขาภิบาล

สุขาภิบาล

การจัดการเรื่องการสุขาภิบาล การดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ เพื่อลดปัจจัยสำคัญที่ที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดคือ แหล่งอาหาร แหล่งหลบซ่อน เป็นต้น

แมลงสาบ Blattodea

เป็นแมลงที่พบการการระบาดกระจายอยู่ทั่วโลกมีวงจรชีวิตแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete metamorphosis) ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่างและขนาด

วงจรชีวิตของแมลงสาบประกอบด้วย 3 ระยะ

ระยะไข่

ระยะตัวอ่อน

ตัวเต็มวัย

ลักษณะทั่วไปของแมลงสาบ

Type of Blattodea

ชนิดของมดที่สำคัญ

แมลงสาบอเมริกัน (Periplaneta Americana)

เป็นแมลงสาบที่มีลำตัวขนาดใหญ่ ลำตัวยาวประมาณ 30–40 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลแดง ปีกยาวทั้งตัวผู้และตัวเมีย บินเก่ง ชอบออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนพัก หรือหลบซ่อนตัวตามซอกมุม ใต้ตู้ ชั้นเก็บของ ในที่มืด อับ จะพบมากตามโกดังเก็บสินค้า หรือบ้านเรือนทั่วไป โตเต็มวัยเมื่อ 7 วัน อายุ 4–7 วันเริ่มผสมพันธุ์ วางไข่ครั้งละ 16–28 ฟอง ในหนึ่งรังไข่ ตัวเมีย 1 ตัวสามารถวางไข่ได้ 22–40 รังไข่ ฟักภายใน 30–46 วัน มีอายุประมาณ 212–294 วัน

แมลงสาบเยอรมัน (Blattella germanica)

เป็นแมลงสาบขนาดเล็ก ความยาวลำตัวของตัวเต็มวัย ประมาณ 13-16 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีดำ 2 เส้นพาดขนานตามแนวยาวของลำตัว มีอายุประมาณ 100 วัน ชอบอากาศอบอุ่น ตัวเมียที่มีไข่จะลากเกราะหุ้มไข่ติดกับท้องตลอดเวลาจนกว่าไข่จะสุก ประมาณ 2–4 สัปดาห์ ปัจจุบันพบได้ทั่วโลกเป็นแมลงสาบที่พบการระบาดตามร้านอาหาร บ้านเรือนมักพบการหลบซ่อนบริเวณภายในห้องครัว ชั้นวางของ ลิ้นชัก เป็นต้น

สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าบ้านเรามี

แมลงสาบ

การพบเห็นแมลงสาบในตอนกลางวันเป็นตัวบ่งบอกว่าพื้นที่นั้นมีแมลงสาบชุกชุม เนื่องจากนิสัยของแมลงสาบชอบออกหากินในเวลากลางคืน แต่ถ้ามีจำนวนแมลงสาบมากมักจะแย่งอาหารกันในเวลากลางคืนดังนั้น แมลงสาบบางส่วนจึงปรับพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเพื่อความอยู่รอดนอกจากนี้ ยังสังเกตจากการพบซากแมลงสาบที่ตายแล้ว คราบที่ลอกเมื่อแมลงสาบมีการเปลี่ยนวัย ฝักไข่ที่ฟัก รวมทั้งพบมูลของแมลงสาบจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่ามีจำนวนแมลงสาบในสถานที่นั้นชุกชุก

Process of Service

การกำจัดแมลงสาบ

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลงสำรวจพบร่องรอยหลักฐานที่เกิดจากแมลงสาบ มูล กลิ่นสาบ

ฉีดพ่น

ฉีดพ่น

ฉีดพ่น (Spraying) สารเคมีภายในและรอบนอกอาคารโดยเน้นแหล่งหลบซ่อนที่พบตัว,แหล่งอาหาร

วางสถานีกาวดักจับ

วางสถานีกาวดักจับ

วางสถานีกาวดักจับ (Glue Board Station) ในบริเวณที่เหมาะสม

วางเหยื่อพิษ

วางเหยื่อพิษ

วางเหยื่อพิษสำเร็จรูปชนิดเจล (Gel) ซึ่งเป็นเหยื่อแมลงสาบที่มีความปลอดภัยสูงใช้สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของแมลงสาบ

ตรวจเช็ค

ตรวจเช็ค

ตรวจเช็ค/ติดตามผลทำการบริการอย่างต่อเนื่อง

คำแนะนำเรื่องสุขาภิบาล

คำแนะนำเรื่องสุขาภิบาล

การจัดการเรื่องการสุขาภิบาล การดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ เพื่อลดปัจจัยสำคัญที่ที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดคือ แหล่งอาหาร แหล่งหลบซ่อน เป็นต้น

ยุง Culicidae

ยุงเป็นแมลงที่สร้างความรำคาญก่อให้เกิดโรคหลากหลาย โรคมาสู่มนุษย์ เช่น มาลาเรีย , ไข้เลือดออก ,ไข้สมองอักเสบ , ชิคุนกุนย่า เป็นต้น เมื่อยุงตัวเมียกัดคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อ มันจะนำพาเชื้อโรคระหว่างที่มันดูดเลือด และส่งต่อเชื้อไปสู่คนอื่นได้หลายคนโดยการกัดเช่นเดียวกัน มีการพบแพร่ระบาดได้ทั่วโลกแต่จะพบมากในเขตร้อนชื้น และเขตอบอุ่น มีวงจรชีวิตแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis)

ยุงมีขนาดเล็กโดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาว 4-6 ม.ม. บางชนิด มีขนาด 2-3 ม.ม. แต่บางชนิดอาจยาวมากกว่า 10 ม.ม. มีขาจำนวน 6 ขา ลำตัวเป็นปล้อง มีปากคล้ายงวงยื่นยาวออกไปข้างหน้า มีปีก 1 คู่

ระยะการเจริญเติบโต
แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังต่อไปนี้

ระยะไข่ (Egg)

ยุงตัวเมียตัวหนึ่งอาจวางไข่ได้ 50-100 ฟอง หรือมากกว่า ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนใน 2-3 วัน ไข่จะไม่ฟัก เป็นตัวอ่อนถ้าไม่มีน้ำ ไข่ยุงบางชนิดอยู่ในสภาพแห้งได้นานหลาย เดือน เช่นไข่ยุงลาย เมื่อมีน้ำก็จะฟักตัวเป็นลูกน้ำ

ระยะลูกน้ำ (Larva)

ประมาณ 5-15 วัน อาหารของลูกน้ำ คือสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ แพลงตอน สาหร่าย สัตว์น้ำขนาดเล็ก ลูกน้ำยุงจะลอกคราบ 4 ครั้งกลายเป็นตัวโม่ง

ระยะตัวโม่ง หรือ ดักแด้ (Pupa)

ระยะนี้จะเคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 1-3 วันก็กลายเป็นตัวเต็มวัย

ระยะตัวเต็มวัย (Adult)

มีส่วนหัว อก และท้อง ชัดเจน สามารถแยกออกจากแมลงชนิดอื่นได้ ระยะเวลาเจริญเติบโตจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 8-21 วัน ขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น ชนิดของยุง และอาหาร

ยุงตัวผู้และยุงตัวเมีย

ยุงตัวผู้จะดูดน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ และของเหลวจาก พืชเป็นอาหาร ยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดกินเลือดหลังจากการผสมพันธุ์ การกินเลือดของยุงแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะ เช่น บางชนิดกิน เลือดวัว ควาย ม้า และสัตว์เลี้ยงต่างๆ บางชนิดกินเลือดคน เวลา ที่ออกหากินก็ไม่เหมือนกัน ยุงตัวเมียจะบินได้ไกลกว่าตัวผู้การบินของยุงมีลักษณะเฉพาะของยุงแต่ละชนิด เช่น ยุงลายจะบินได้ ไกล 400-600 เมตร ยุงก้นปล่องบินได้ไกล 1-2 กิโลเมตร และ ยุงรำคาญบินได้ไกล 200 เมตรจนถึงหลายกิโลเมตร

Type of Culicidae

ชนิดของยุงที่พบในประเทศไทย

ยุงก้นปล่อง (Anopheles)

ยุงชนิดนี้เวลาเกาะพักจะยกก้นชี้เป็นปล่อง แหล่งเพาะพันธุ์ตามลำธารที่มีน้ำใสสะอาดไหลเอื่อยๆ ในตอนกลางวันจะบินมาเกาะพักตามบ้านเรือน ชอบอยู่ตามป่า เขา และกัดคนตอนกลางคืน เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง และโรคมาลาเรีย

ยุงลาย (Aedes)

ลำตัวและขามีลายสีขาวสลับดำ แหล่งเพาะพันธุ์อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน บริเวณรอบบ้านหรือในบ้าน แหล่งเพาะพันธุ์ได้แก่ ภาชนะที่มีน้ำขังเวลาที่ออกหากินเป็นช่วงกลางวันเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำสะอาด เป็นพาหะนำโรคไข้ชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก

ยุงรำคาญ (Genus Culex)

มีขนาดเล็กลำตัวบอบบางไม่มีลวดลายตามตัว วางไข่ในแหล่งน้ำทุกชนิดแหล่งเพาะพันธุ์มักอยู่ใกล้บ้านวางไข่เป็นแพ ออกหากินทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ยุงชนิดนี้เป็นพาหะที่สำคัญของทั้งไวรัสไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง

ยุงเสือ

ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง ชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวก จอกและ ผักตบชวา เป็นพาหะของโรคเท้าช้าง

Process of Service

การกำจัดยุง

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลง

ฉีดพ่นแบบครอบคลุม

ฉีดพ่นแบบครอบคลุม

ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่โดยพ่นแบบฝอยละเอียด (Misting or ULV) เพื่อกำจัดตัวเต็มวัย

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ อาคารซึ่งเป็นแหล่งหลบพักของยุง เช่น ต้นไม้ พุ่มไม้เตี้ย สวนหย่อม เป็นต้น

สุขาภิบาล

สุขาภิบาล

การป้องกันโดยเน้นการสุขาภิบาลพื้นที่จัดการแหล่งน้ำขังพื้นที่รอบอาคาร เพื่อป้องกันการเป็นพื้นที่แพร่ระบาด

แมลงวัน Diptera

เป็นแมลงที่พบได้แทบทุกแห่งบนโลกทำให้เกิดความรำคาญและเป็นแมลงพาหะนำโรค ลำตัวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีปีก 2 ปีก โดยทั่วไปคนจะรู้จักแมลงวันที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของคน คือ แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว แมลงวันหลังลาย เป็นต้น แมลงวันทำให้เกิดความรำคาญเนื่องจากมันบินมาตอมคนและอาหาร นอกจากนี้เป็นพาหะนำเชื้อโรคหลายชนิด โดยที่แมลงวันหัวเขียวสามารถเป็นพาหะนำโรคได้มากกว่าแมลงวันบ้าน เชื้อที่สำคัญที่สามารถนำโดยแมลงวันได้แก่ เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อบิด เชื้อไข้รากสาดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหารและไข่พยาธิบางชนิดได้

ลักษณะของแมลงวัน

วงจรชีวิต

แมลงวันบ้านออกหากินในช่วงกลางวัน ส่วนในเวลากลางคืนจะรวมกลุ่มอยู่บนกิ่งไม้และพุ่มไม้ แมลงวันบ้านจะกินอาหารก่อนที่จะจับคู่ผสมพันธุ์ ตัวเมียส่วนใหญ่จะจับคู่ผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวและจะเก็บอสุจิไว้ในถุงเก็บน้ำเชื้อ (spermatheca) ตัวเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มๆละ 100-150 ฟอง บนอุจจาระสัตว์ กองปุ๋ยคอก เศษซากขยะ และอินทรียวัตถุเน่าเปื่อย วางไข่ทุกๆ 3-4 วัน ตลอดชีวิตของมัน ไข่ใช้เวลา 12-24 ชั่วโมงจะฟักเป็นตัวหนอนสีขาว หนอนมี 3 ระยะ ใช้เวลา 3-7 วัน และก่อนที่จะเข้าดักแด้มันจะคลานออกจากแหล่งอาหารเพื่อออกไปหาที่แห้ง หนอนขุดรูเข้าไปในดินและเข้าดักแด้ในปลอก (puparium) สีน้ำตาลแดง ดักแด้ใช้เวลา 3-5 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 15-25 วัน หรือ 2 เดือน ถ้าไม่มีอาหารจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 2-3 วัน วงจรชีวิตจากไข่เป็นตัวเต็มวัยใช้เวลาอย่างน้อย 7-10 วัน

Type of Culicidae

ชนิดของแมลงวันที่พบการระบาด

แมลงวันบ้าน (Housefly)

ตัวเต็มวัยมีลำตัวยาว 7-9 มิลลิเมตร สีเทาดำ ไม่สะท้อนแสง ตาเป็นลักษณะตาประกอบ ส่วนปากดัดแปลงสำหรับการดูดอาหารที่เป็นของเหลวหรือกึ่งเหลว ในขณะที่ไม่กินอาหารปากจะหดเข้าไปอยู่ในส่วนหัว แต่ขณะกินอาหารปากจะยืดยาวออกมา ส่วนอกด้านหลังมีแถบดำ 4 เส้น ขามี 3 คู่ โดยปกติตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มประมาณ 120 ฟอง ในสภาพธรรมชาติจะสามารถวางไข่ได้ 1-2 ครั้ง แมลงวันมีอายุขัยประมาณ 14-70 วัน

แมลงวันหัวเขียว (Blowfly)

มีรูปร่างคล้ายแมลงวันบ้านแต่มีลำตัวขนาดใหญ่กว่าแมลงวันบ้าน โดยมีความยาวตั้งแต่ส่วนหัวถึงปลายส่วนท้องประมาณ 8-11 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นคือลำตัวส่วนอกและท้องมีความมันวาวสะท้อนแสงสีเขียว ทำให้คนเรียกแมลงวันชนิดนี้ว่าแมลงวันหัวเขียวทั้งที่ส่วนเขียวเป็นส่วนอกและท้อง อย่างไรก็ตามสีของแมลงวันหัวเขียวมีความแตกต่างกันไปในแมลงวันหัวเขียวแต่ละชนิด ได้แก่สีเขียว น้ำเงิน ม่วง ทองแดง แมลงวันหัวเขียวตัวเมียจะวางไข่ครั้งละประมาณ 250 ฟอง จำนวนไข่มากหรือน้อยขึ้นกับชนิดของแมลงวัน

แมลงวันหลังลาย (Fleshfly)

มีลำตัวใหญ่สีเทา ขนาด 10-13 มิลลิเมตร ลักษณะเด่นคือ มีแถบดำ 3 เส้น ตามยาวที่ส่วนอก ส่วนท้องด้านบนมีลายรูปสี่เหลี่ยมสีเทาเข้มหรือดำ จากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 16-27 วัน วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 3-36 ฟองตัวเมียแต่ละตัววางไข่ได้ 4-5 ครั้ง บางครั้งจะออกลูกเป็นตัวหนอนได้ครั้งละ 10-40 ตัวและอาจมากกว่านี้

Process of Service

การกำจัดแมลงวัน

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลง

วางเหยื่อพิษ

วางเหยื่อพิษ

วางหรือโรยเหยื่อแมลงวันชนิดเม็ด ในจุดที่เกิดปัญหา

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ อาคารโดยเน้นบริเวณที่ทิ้งขยะ , แหล่งเกาะพักและแหล่งอาหารเพื่อกำจัดตัวอ่อน หรือระยะหนอน

ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุม

ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุม

ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่โดยพ่นแบบฝอยละเอียด (Misting or ULV) เพื่อกำจัดตัวเต็มวัย

การติดตั้งเครื่องไฟดักแมลง

การติดตั้งเครื่องไฟดักแมลง

การป้องกันเน้นการสุขาภิบาล

การป้องกันเน้นการสุขาภิบาล

การป้องกันโดยเน้นการสุขาภิบาลพื้นที่ โดยเน้นการทำความสะอาด และลดแหล่งระบาด

เห็บ, หมัด

เป็นสัตว์ดูดเลือดและพาหะนำโรคที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ต่อทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แม้โดยทั่วไปหากถูกเห็บกัดจะไม่เกิดอันตราย
และไม่ปรากฏอาการเจ็บหรือคัน แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดอาการแพ้ มีผื่นขึ้น เป็นแผลพุพอง หรือถึงขั้นหายใจติดขัดได้ ดังนั้น การตระหนักถึง
อันตรายจากเห็บและเรียนรู้วิธีรับมือป้องกันในเบื้องต้นก็อาจช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้

เป็นสัตว์ดูดเลือดและพาหะนำโรคที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ต่อทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แม้โดยทั่วไปหากถูกเห็บกัดจะไม่เกิดอันตราย และไม่ปรากฏอาการเจ็บหรือคัน แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดอาการแพ้ มีผื่นขึ้น เป็นแผลพุพอง หรือถึงขั้นหายใจติดขัดได้ ดังนั้น การตระหนักถึงอันตรายจากเห็บและเรียนรู้วิธีรับมือป้องกันในเบื้องต้นก็อาจช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้

หมัด flea

เป็นแมลงขนาดเล็กที่ไม่มีปีก กระโดดได้ไกลถึงประมาณ 6 นิ้ว เป็นปรสิตภายนอกร่างกาย ทั้งในมนุษย์และสัตว์อื่นๆ เช่น หมัดสุนัข หมัดแมว หมัดหนู ฯลฯ กัดและดูดเลือด เมื่อผิวหนังถูกกัดฉีกออกมาเป็นแผล มันจะสำรอกน้ำลายลงไปบนแผลนั้น แล้วดูดเลือด เมื่อดูดเลือดแล้วมันจะขับถ่ายของเสียมีชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์ โดยไม่ต้องกินอาหาร เมื่อโดนกัดแล้วผิวหนังจะมีอาการบวมแดงและคัน หากมีอาการแพ้อาจจะมีไข้สูง และมีผื่นขึ้นและคันมาก ๆ คล้ายลมพิษ

วงจรชีวิตของหมัดมี 4 ระยะ

ระยะเป็นไข่

ตัวอ่อน

ดักแด้

ตัวเต็มวัย

มีวงจรชีวิตประมาณ 2-3 สัปดาห์

หมัดมีการผสมพันธุ์บนตัวโฮสต์ และส่วนใหญ่จะวางไข่นอกตัวโฮสต์ และมีความต้องการเลือดเป็นอาหารก่อนจะวางไข่ ไข่ของหมัดอาจจะอยู่ตามเสื่อ ผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือพื้น เพดาน มันวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 3-18 ฟอง และหนึ่งชั่วชีวิตของมันจะวางไข่ได้ประมาณ 300-500 ฟอง ตัวอ่อนจะมีการลอกคราบเป็น 3 ระยะ ตัวอ่อนคลายตัวอ่อนของแมลง ลำตัวประกอบเป็นปล้องๆ มี 13 ปล้อง และในแต่ละปล้องจะมีขนเส้นยาวขึ้น ตัวอ่อนกินไรฝุ่น ผง หรือเลือดแห้ง เป็นอาหาร ตัวอ่อนจะมีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ จึงลอกคราบกลายเป็นตัวแก่ และจะต้องขึ้นไปเกาะบนตัวโฮสต์ทันที ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาล ปากแบบกัดและเจาะดูด ไม่มีปีก 

มีลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้องแบบไม่ชัดเจน หมัดมีความทนทานทั้งในสภาพที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงได้ดี

เห็บ tick

อยู่กลุ่มเดียวกับพวกแมงมุม ตัวเต็มวัยมี 8 ขา ไม่มีปีก ลักษณะตัวกลมแบนในขณะที่ยังไม่ได้ดูดเลือด แต่ถ้าหากดูดเลือดแล้วจะมีลักษณะคล้ายเม็ดลูกหยีเกาะติดอยู่กับสัตว์ เมื่อกินเลือดอิ่มแล้วพวกนี้จะลงมาวางไข่ตามใบไม้ใบหญ้า จนกระทั่งโตพอสมควรก็จะขึ้นไปอยู่บนตัวสัตว์เพื่อดูดเลือดจนอิ่มแล้วจะลงมาวางไข่ เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ หากติดอยู่กับสัตว์นานๆ จะทำให้สัตว์เป็นโรคไข้เห็บ และทำให้เป็นโรคโลหิตจางตายได้ เห็บตัวหนึ่งๆมีอายุ ราว 1-3 ปี

ปัญหาจากเห็บนั้น จะก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ได้แก่ โรคผิวหนังจากการแพ้และคัน สุขภาพผิวหนังอ่อนแอ ที่สำคัญยังเป็นพาหะนำโรค ไข้เห็บ (Tick fever) หรือ พยาธิเม็ดเลือด (Blood parasite) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพโลหิตจาง และร่างกายทรุดโทรม โรคพยาธิในเม็ดเลือดนี้มีเชื้อโปรโตซัวและริกเก็ตเซียเป็นตัวก่อโรค ได้แก่ กลุ่ม Ehrlichia, Babesia และ Hepatozoon ในช่วงที่เห็บจะดูดเลือดนั้น เห็บจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดเข้าไปทางรอยแผลที่กัด หากเห็บตัวนั้นเชื้อที่ก่อโรคอยู่ในตัวอยู่แล้ว เชื้อเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยเข้าร่างกายสุนัขไปด้วย ทำให้สุนัขป่วย ซึ่งโรคพยาธิเม็ดเลือดนี้ มีอันตรายถึงชีวิต

มีวงจรชีวิตประมาณ 2-3 สัปดาห์

หมัดมีการผสมพันธุ์บนตัวโฮสต์ และส่วนใหญ่จะวางไข่นอกตัวโฮสต์ และมีความต้องการเลือดเป็นอาหารก่อนจะวางไข่ ไข่ของหมัดอาจจะอยู่ตามเสื่อ ผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือพื้น เพดาน มันวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 3-18 ฟอง และหนึ่งชั่วชีวิตของมันจะวางไข่ได้ประมาณ 300-500 ฟอง ตัวอ่อนจะมีการลอกคราบเป็น 3 ระยะ ตัวอ่อนคลายตัวอ่อนของแมลง ลำตัวประกอบเป็นปล้องๆ มี 13 ปล้อง และในแต่ละปล้องจะมีขนเส้นยาวขึ้น ตัวอ่อนกินไรฝุ่น ผง หรือเลือดแห้ง เป็นอาหาร ตัวอ่อนจะมีอายุประมาณ 2 สัปดาห์ จึงลอกคราบกลายเป็นตัวแก่ และจะต้องขึ้นไปเกาะบนตัวโฮสต์ทันที ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาล ปากแบบกัดและเจาะดูด ไม่มีปีก 

วงจรชีวิตของเห็บมี 4 ระยะ

ระยะเป็นไข่

ตัวอ่อน

ดักแด้

ตัวเต็มวัย

Process of Service

การกำจัดเห็บ,หมัด

ดูแลสัตว์เลี้ยงให้สะอาด

ดูแลสัตว์เลี้ยงให้สะอาด

การดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขหรือแมวให้สะอาดอยู่เสมอ โดยให้สังเกตตามตัวของสัตว์เลี้ยงเมื่อสัตว์กลับมาจากนอกบ้าน หากพบเห็บให้รีบกำจัดเห็บออก ซึ่งอาจเลือกใช้ยากำจัดเห็บหมัดสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ด้วยเช่นกัน

การจัดการพื้นที่

การจัดการพื้นที่

การจัดการพื้นที่โดยการตัดแต่งต้นไม้ ต้นหญ้าไม่ให้เกิดเป็นพื้นที่ระบาดของเห็บหมัด

การฉีดพ่น (Spraying)

การฉีดพ่น (Spraying)

การฉีดพ่น (Spraying) สารเคมีภายในและรอบนอกอาคารโดยเน้นแหล่งหลบซ่อนที่พบตัว และจุดเสี่ยงต่างๆในพื้นที่

แมลงก้นกระดก
Rove beetles

แมลงขนาดเล็กประมาณ 7-8 เซนติเมตร รูปร่างเรียวยาว ส่วนหัวมีสีดำ มีหนวดสีเหลืองปนน้ำตาลแบบเส้นด้ายหรือกระบอง ปีกสีน้ำเงินเข้ม สั้น ปิดส่วนท้องไม่มิด ขาทั้ง 3 คู่มีสีน้ำตาลแดง ส่วนท้องมีสีส้มมีความสามารถในการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ปลายท้องมีแพนหางสั้น 1 คู่ และมักจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น จึงมักถูกเรียกว่า “ด้วงก้นกระดก” การเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์แบ่งเป็นสี่ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

แมลงก้นกระดกเป็นแมลงที่มีอายุอยู่ได้ยาวนาน บินได้เร็วและว่องไว เวลาวิ่งจะยกปลายท้องตั้งขึ้นเหมือนแมงป่อง ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่รก ชุ่มชื้นใกล้แหล่งน้ำ เช่น ร่องน้ำแปลงผัก และ หนองน้ำ มักจะออกมาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝนถึงกลางฤดูร้อนช่วงเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนมิถนายนในปีถัดไป ความน่ากลัวของแมลงชนิดนี้ไม่ใช่พิษที่เกิดจากการกัดหรือต่อย แต่จะปล่อยสารพิษที่มีชื่อว่า พีเดอริน (Pederin) อยู่ในเลือดของมัน ซึ่งตัวเมียจะมีปริมาณพิษมากว่าตัวผู้มาก สารชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหากโดนสัมผัสโดนผิวสามารถทำลายเซลล์เนื้อเยื่อผิวหนังได้

 

ลักษณะอาการหลังโดนน้ำพิษ

คือ มีผื่นแดง บวม มีตุ่มน้ำใส คัน มีการอักเสบเกิดเป็นแผลพุผอง อาหารเหล่านี้จะหายไปได้ใน 1-2 สัปดาห์ โดยอาจจะมีรอยดำหลังจากตกสะเก็ดได้ในระยะสั้นๆ แต่มักจะไม่เป็นแผลเป็น หากเข้าตาก็จำทำให้ตาอักเสบหากปล่อยไว้นานอาจตาบอดได้ โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงและไม่พบอาการระบบอื่นนอกจากตาและผิวหนัง ยกเว้นในรายที่ได้รับสารพิษจำนวนมากหรือมีอาหารแพ้รุนแรง อาจจะมีไข้สูงและส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Process of Service

การจำกัดแมลงก้นกระดก

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่

สำรวจพื้นที่ทั้งหมดโดยละเอียด เพื่อดูสภาพปัญหาแหล่งหลบซ่อนอาศัยของแมลง

ฉีดพ่นแบบครอบคลุม

ฉีดพ่นแบบครอบคลุม

ฉีดพ่นเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่โดยพ่นแบบฝอยละเอียด (Misting or ULV) เพื่อกำจัดตัวเต็มวัย

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ

ฉีดพ่นเคมีรอบๆ อาคารซึ่งเป็นแหล่งหลบพักและแหล่งอาหารของแมลงก้นกระดก เช่น ป่าหญ้าที่มีความชื้น หนองน้ำ เป็นต้น

สุขาภิบาล

สุขาภิบาล

การป้องกันโดยเน้นการสุขาภิบาลพื้นที่จัดการแหล่งน้ำขัง รกชื้น พื้นที่รอบอาคาร เพื่อป้องกันการเป็นพื้นที่แพร่ระบาด